วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภาษาเบสิก (Basic Language)

 

ภาษาเบสิก(BASIC LANGUAGE) ย่อมาจากคำว่า BASIC ไม่ได้แปลว่าพื้นฐาน หรือเบื้องต้น ตามพจนานุกรมภาษาอังกฤษแต่คำว่า BASIC เป็นคำย่อ ๆ ซึ่งมาจากคำเต็มๆ โดยนำตัวอักษรตัวแรกมาเขียนเรียงกันซึ่งคำเต็ม ๆ ก็คือ Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code

โปรแกรมภาษาเบสิกเป็นโปรแกรมภาษาระดับสูง (High Level language) มีการพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ. 1960 โดยศาสตราจารย์จอนห์ เคเมนี (John Kemeny) และศาสตราจารย์โทมัส เคอตซ์ (Thomas Kurtz) แห่งวิทยาลัยดาร์ตเม้าท์ สหรัฐอเมริกา


การจะสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ตามที่เราต้องการ โดยการใช้โปรแกรมภาษาระดับสูงอย่างภาษาเบสิกในการสั่งเราเรียกว่า การเขียนโปรแกรม ในความหมายของการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หมายถึง การเขียนคำสั่งตั้งแต่1 คำสั่งขึ้นไป เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานอย่างที่ต้องการ เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถรับรู้คำสั่งได้ค่อนข้างจำกัด ดังนั้นการเขียนคำสั่งแต่ละคำสั่งต้องอยู่ในรูปแบบ และเป็นไปตามหลักไวยากรณ์


ค่าคงที่ (Constants)
ค่าคงที่หมายถึง ค่าของข้อมูลที่มีค่าแน่นอนไม่เปลี่ยนแปลง ค่าคงที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
1. ค่าคงที่ที่เป็นจำนวน (Numeric Constants) หมายถึง ค่าคงที่ที่เป็นจำนวนและนำไปใช้ในการคำนวณ จะเป็นจำนวนเต็ม หรือทศนิยมก็ได้
2. ค่าคงที่ทางตรรกศาสตร์ (Logical Constants) หมายถึง ค่าคงที่ที่แสดงถึงความเป็นจริง (True) หรือเท็จ(False) ในภาษาเบสิกสำหรับคอมพิวเตอร์บางระบบกำหนดให้ 1แทนจริงและ 0 แทนเท็จ
3. ค่าคงที่อักขระ (String Constants) หมายถึง ตังอักษรตั้งแต่ 1 ตัวขึ้นไป หรือเป็นตัวเลขปนก็ได้ ตัวอักขระจะเป็นข้อความที่มีความยาวได้ระหว่าง1 ถึง 255 ตัวอักษร การเขียนค่าคงที่อักขระจะต้องอยู่ภายในเครื่องหมายคำพูดเสมอ
ตัวแปร(Variables)
ตัวแปร หมายถึง ชื่อที่ผู้เขียนโปรแกรมกำหนดขึ้นเพื่อใช้เก็บหรือแทนข้อมูล ตัวแปรจึงเป็นเสมือนชื่อกล่องที่เก็บข้อมูล การตั้งชื่อตัวแปรจะเป็นตัวอักษรทั้งหมดหรือมีตัวเลขปนก็ได้ แต่ละตัวแปรจะต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษรเสมอ เช่น NAME SCORE X3
การตั้งชื่อตัวแปรควรตั้งชื่อให้สื่อความหมายเพื่อผู้ใช้จะได้เข้าใจง่าย ตัวแปรแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. ตัวแปรจำนวน (Numeric Variables) คือบอกให้รู้ว่าข้อมูลที่เก็บอยู่เป็นจำนวน
2. ตัวแปรอักขระ (String Variables) คือ ตัวแปรที่จะบอกให้รู้ว่าเก็บข้อมูลอยู่ในรูปตัวอักษรหรือข้อความต่าง ๆ เช่น ชื่อบ้านเลขที่ จะต้องปิดท้ายด้วยเครื่องหมาย $ เช่น NAME$ ADDRESS$

เครื่องหมายในการเขียนโปรแกรม
1. เครื่องหมายโคลอน (Colon) เป็นเครื่องหมายสำหรับการเชื่อมคำสั่งซึ่งเราได้ทำหลาย ๆ คำสั่งต่อกัน
2. เครื่องหมายจุลภาคหรือคอมมา (Comma “,”) ในกรณีคำสั่งPRINT เป็นการสั่งแบ่งระยะโดยจะทำให้ระยะระหว่างข้อมูลที่จะแสดงผลที่จอภาพถูกจัด แบ่งเป็นระยะเท่า ๆ กัน
3. เครื่องหมายอัฒภาค หรือ เซมิโคลอน (Semicolon “;”) เมื่อแสดงผลที่จอภาพข้อมูลจะถูกพิมพ์ต่อเนื่องกัน

ประเภทคำสั่งในภาษาเบสิก
1. คำสั่งสำหรับรับและส่งข้อมูล
คือ กลุ่มคำสั่งที่เขียนขึ้นเพื่อรับข้อมูลเข้าไปทำการประมวลผลในโปรแกรมและ กลุ่มคำสั่งที่สั่งให้โปรแกรมแสดงผลที่อุปกรณ์ประกอบคำสั่งเหล่านี้ได้แก่
1.1 คำสั่ง INPUT เป็นคำสั่งที่รับข้อมูลโดยการป้อนผ่านแป้นพิมพ์ เพื่อให้โปรแกรมรับทราบว่าใส่ข้อมูลใด เมื่อเวลาแสดงผลจะแสดงเครื่องหมายคำถาม เพื่อป้อนข้อมูลที่ต้องการต่อท้ายเครื่องหมายคำถาม
1.2 คำสั่ง PRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก เพื่อแสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งให้ทำงานออกทางจอภาพ
1.3 คำสั่ง LPRINT เป็นคำสั่งในภาษาเบสิก ที่แสดงผลของข้อมูลที่โปรแกรมสั่งออกทางเครื่องพิมพ์

2. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดค่าให้กับตัวแปรและการตั้งสมการคำนวณ
2.1 คำสั่ง LET เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดค่าคงที่ให้กับ ไม่ว่าเป็นตัวแปรแบบอักขระหรือตัวแปรแบบตัวเลข และใช้ตั้งสมการทางคณิตศาสตร์
3. คำสั่งในการคำนวณ
ลักษณะของคำสั่งประเภทนี้จะอยู่ในรูปของเครื่องหมาย แสดงแทนเครื่องหมายทางคณิตศาสตร์ จะใช้ประกอบกับคำสั่งประเภทอื่น ๆ

4. คำสั่งสำหรับการควบคุม

ลักษณะของคำสั่งในการควบคุม เป็นการสั่งในแบบกำหนดเงื่อนไข และแบบไม่มีเงื่อนไขรวมถึงคำสั่งควบคุมการวนซ้ำ
4.1 คำสั่งแบบมีเงื่อนไข ได้แก่ IF/THEN/ELSE DO..LOOP WHILE..WEND
4.2 คำสั่งแบบไม่มีเงื่อนไข ได้แก่ GO,GOSUB
1.3 คำสั่งควบคุมการวนซ้ำ คือ คำสั่งที่ควบคุมการกระทำซ้ำ ได้แก่ FOR/NEXT
5. คำสั่งเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบ
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกำหนดการวางรูปแบบของการแสดงผลโปรแกรม บางครั้งก็จะอยู่ในรูปเครื่องหมาย ใช้ร่วมกับคำสั่งทั่วไป
6. คำสั่งฟังก์ชัน
เป็นกลุ่มคำสั่งประเภทหนุ่งที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้ โดยคำสั่งประเภทนี้จะมีค่าฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์
7. คำสั่งทั่วไป
NEW เป็นคำสั่งลบโปรแกรมและค่าตัวแปรที่อยู่ในหน่วยความจำ โดยจะลบหล้าจอทั้งหมดก่อนที่จะเขียนโปรแกรมใหม่
REM เป็นคำสั่งที่ใช้ในการหมายเหตุ
END เป็นคำสั่งให้หยุดการทำงานของโปรแกรม
CLS เป็นคำสั่งให้ลบหน้าจอใหม่ โดยไม่แสดงผลเดิม




Credit : http://it4learning.blogspot.com/2011/09/basic_13.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น