วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ภาษาแอสเซมบลี (Assembly Language)

ภาษาแอสเซมบลี ( Assembly Language ) เป็นภาษาที่ใช้สัญญาลักษณ์ในการสื่อสารความหมายภาษาแอสเซมบลีมีลักษณะคำสั่งที่ขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานและมีการแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่อง
นอกจากภาษาเครื่อง และ ภาษาแอสเซมบลีแล้ว ก็ยังมีภาษาระดับสูง เช่น Basic Cobol Fortran ซึ่งเป็นภาษาที่มีคำสั่งใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษมากทำให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเขียนโปรแกรมได้สะดวกและรวดเร็ว แต่ว่าโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงต้องใช้เนื้อที่เก็บในหน่วยความจำเป็นจำนวนมาก อีกทั้งทำงานได้ช้ากว่าภาษาแอสเซมบลี ดังนั้นภาษาระดับสูงจึงไม่นิยมนำมาประยุกต์ใช้กับการทำงานที่ระบบการควบคุมที่มีความสำคัญมาก
ภาษาแอสเซมบลี เหมาะกับโปรแกรมที่ใช้เนื้อที่ในหน่วยความจำไม่มากนัก ทั้งทำงานได้รวดเร็ว และในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง
   คำสั่งปฏิบัติการของภาษาแอสเซมบลี แบ่งออกเป็น 4 ชนิดคือ
1. Machine instruction เป็นคำสั่งที่ทำให้เกิดการปฏิบัติการ ( execution ) ชุดของคำสั่งอยู่ใน assembler's instruction
2. Assembler instruction เป็นคำสั่งที่บอกแอสเซมเบลร์ให้ทำการระหว่างการแอสเซมบลี source program.
3. Macro instruction เป็นคำสั่งที่บอกแอสสเซมเบลร์ให้ดำเนินการกับชุดของคำสั่งที่ได้บอกไว้ก่อนแล้ว ซึ่งจากชุดของคำสั่งนี้ แอสเซมเบลร์จะผลิตชุดของคำสั่งซึ่งต่อไปจะดำเนินการเหมือนหนึ่งว่าชุดของคำสั่งนี้เป็นส่วนหนึ่งของ source program แต่เริ่มแรก
4. Pseudo instruction เป็นคำสั่งที่บอกให้แอสเซมเบลร์รู้ว่า ควรปฏิบัติการเช่นไรกับข้อมูลการ branch อย่างมีข้อแม้ แมคโคและ listing ซึ่งปกติแล้วคำสั่งเหล่านี้จะไม่ผลิตคำสั่งภาษาเครื่องให้



Credit : http://dit.dru.ac.th/task/assembly/Language.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น